top of page
ค้นหา

จรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง

  • รูปภาพนักเขียน: BIO4U
    BIO4U
  • 6 ม.ค. 2562
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 9 ม.ค. 2562

จรรยาบรรณการใช้สัตว์ คือ หลักเกณฑ์ที่ผู้ใช้สัตว์และผู้เลี้ยงสัตว์เพื่องานวิจัย งานทดสอบและงานผลิต ชีววัตถุในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีทุกสาขายึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การ ดำเนินงานต่าง ๆ นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม คุณธรรม มนุษยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนเป็นมาตรฐานการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน



สำนักงานคณะกรรม การการวิจัยแห่งชาติ ได้กำหนดจรรยาบรรณการใช้สัตว์ไว้ ดังนี้

  1. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงคุณค่า ของชีวิตสัตว์ ผู้ใช้สัตว์ต้องใช้สัตว์เฉพาะกรณีที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าเป็นประโยชน์และจําเป็นสูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์หรือความก้าวหน้าทางวิชาการ

  2. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงความแม่นยำของผลงานโดยใช้สัตว์จํานวนน้อยที่สุด ผู้ใช้สัตว์จะต้องคํานึงถึงคุณสมบัติทางพันธุ กรรม และคุณสมบัติทางสุขภาพของสัตว์ที่จะนํามาใช้ ให้สอด คล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการใช้สัตว์ เพื่อให้มีการใช้สัตว์จํานวนที่น้อยที่สุดและได้รับผลงานที่ถูกต้องแม่น ยำมากที่สุด

  3. การใช้สัตว์ป่าตองไม้ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์สัตว์ป่า การนําสัตว์ป่ามาใช้ควรกระทำเฉพาะกรณีที่มีความจําเป็นต่อการศึกษาวิจัยโดยไม่สา มารถใช้สัตว์ประเภทอื่นทดแทนได้ และการใช้สัตว์ป่านั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและการอนุรักษ์สัตว์ป่า

  4. ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่าสัตว์มีความรู้สึกเจ็บปวดและมีความรู้สึกตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับมนุษย์ จึงต้องปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความระ มัดระวังทุกขั้นตอน และการ ปฏิบัติต่อสัตว์โดยไม่ให้สัตว์ได้ รับความเจ็บปวด ความเครียด หรือความทุกข์ทรมาน

  5. ผู้ใช้สัตว์ต้องบันทึกข้อมูลการปฏิบัติต่อสัตว์ไว้เป็นหลักฐานอย่างครบถ้วน ผู้ใช้สัตว์ต้องปฏิบัติต่อสัตว์ตรงตามวิธีการที่เสนอไว้ในโครงการ และต้องจดบันทึกรายละเอียด ไว้เป็นหลัก ฐาน อย่างละเอียดครบถ้วน พร้อมที่จะเปิดเผยหรือชี้แจงได้ทุกโอกาส


 
 
 

Comments


© 2023 by BIO4U.

Proudly created with Wix.com

  • White Facebook Icon
  • White Twitter Icon
  • White Pinterest Icon
  • White Instagram Icon
bottom of page